Image
Image
Image
Image

อาคารพัชรกิติยาภาฯ

อาคารพัชรกิติยาภาฯ

ความภาคภูมิใจของกุมารแพทย์ กองทัพบก

Image
เมื่อมองย้อนอดีต…ก่อนที่จะมี “ อาคารพัชรกิติยาภา ” ที่งามสง่าเป็นความภาคภูมิใจของกุมารแพทย์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ทุกวันนี้…ทำให้ระลึกได้ถึงความแออัดในอดีตเมื่อ 30 ปีก่อน… ในวันนั้นกองกุมารเวชกรรมมีสถานที่ทำงานเพียง 2 ชั้น ที่ตึกสูตินรีเวชกรรม คือ ชั้นที่ 4 สำหรับวอร์ดผู้ป่วย ทั้งผู้ป่วยสามัญ…พิเศษ…และไอซียู รวมถึงเป็นที่ทำงานของอาจารย์…แพทย์ประจำบ้าน…แพทย์ฝึกหัด…ซึ่งคับแคบมากแม้แต่ตามระเบียงก็ปรับปรุงให้เป็นพื้นที่ห้องทำงาน…ส่วนชั้น 2 เป็นส่วนของห้องทารกแรกคลอดซึ่งอยู่รวมกับกองสูตินารีเวชกรรม…แม้จะได้มีการขยับขยายไปที่ตึกอุบัติเหตุ ( ตึกท่านผู้หญิงประภาศรี กำลังเอก ) บ้างแล้วก็ตาม แต่ยังมีความยากลำบาก พื้นที่ทำงานไม่เป็นสัดส่วน ห้องสอนนักเรียนแพทย์ต้องใช้พื้นที่หน้าห้องพักอาจารย์โดยอาศัยตู้เหล็กกั้น…คณาจารย์กองกุมารฯ ได้มีความพยายามดำเนินการขยับขยายพื้นที่ให้ได้มาซึ่งตึกกุมารเพื่อรองรับภาระงาน…ที่มีทั้งงานบริการงานสอนและงานวิจัยที่เป็นภารกิจหลักแต่ติดขัดด้วยนโยบายและงบประมาณตลอดมา
ในปี พ.ศ. 2530 ได้มีการดำเนินการที่มีเป้าหมายแน่ชัดในการที่จะหาทุนสร้างอาคารด้วยตนเอง ซึ่งได้พัฒนาไปสู่การเกิดขึ้นเอง “ มูลนิธิกุมาร รพ.พระมงกุฎเกล้า ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา”
อย่างไรก็ดีรายรับของมูลนิธิฯที่ได้จากกิจกรรมที่เพิ่งเริ่มดำเนินการ ยังห่างไกลจากงบประมาณที่จะทำความฝันให้เป็นจริง จนกระทั่งอีกประมาณ 4 ปีต่อมา…อาจารย์ทิพย์ ศรีไพศาล ซึ่งเป็นรองประธานมูลนิธิกุมารฯ ขณะนั้นได้มีโอกาสประสานการจัดงาน คอนเสิร์ตแบบเบิร์ด เบิร์ด โชว์ “ ความสุข ความทรงจำ ไม่มีที่สิ้นสุด ” จัดที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2534…สามารถจัดจำหน่ายบัตรได้เงินมากกว่า 1 ล้านบาท และนับเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จเป็นประธานในกิจกรรมของมูลนิธิฯ การจัดงานครั้งนี้ได้นำภาพอาคารพัชรกิติยาภาซึ่งออกแบบโดย คุณ ธีระยุทธ รุมาคม เป็นอาคาร ๘ ชั้น ตั้งอยู่ข้างตึกอุบัติเหตุไปจัดแสดงให้พระองค์ท่านได้ทอดพระเนตรด้วย แบบอาคารชุดแรกนี้ อาจารย์ฤดีวิไล สามโกเศศ ได้เป็นผู้ขอให้ ดร.การุญ จันทรางสุ ช่วยประสานกับผู้ออกแบบให้เป็นพิเศษ จากนั้นมูลนิธิฯ ได้จัดให้มีประชาสัมพันธ์เชิงลุกให้ปรากฏขึ้นทางโทรทัศน์และวิทยุอย่างต่อเนื่อง เพื่อขอรับการสมทบทุนเพื่อ “ โครงการอาคารพัชรกิติยาภา ” จนเป็นที่รับทราบของสังคมว่า…โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าจะมีอาคารเฉพาะในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเด็กเกิดขึ้นใน
Image
ใวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2534 ปีเดียวกันนี้เอง คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้เข้าพบ พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุด ขอให้ท่านเป็นประธานหารายได้เพื่อโครงการอาคารพัชรกิติยาภา อีก 3 เดือนต่อมา..วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2534 อาจารย์ทิพย์และคณะกรรมการมูลนิธิฯ บางท่านได้มีโอกาสประชุมปรึกษาหารือกับ ผู้บริหารบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์แอนด์คอมมูนิเคชั่นส์ บริษัทแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์ และบริษั Catimini ( โดย คุณอรรถพร ศรีไพศาล สมทบทุนบริจาคเครื่องแต่งกายเด็กสำหรับแฟชั่นโชว์การกุศล )…ไดแนงคิดว่าควรจัดกิจกรรมขนาดใหญ่เพื่อจะมีโอกาสระดมทุนที่มากพอจากภาคเอกชนในการสร้างอาคารจึงเป็นที่มาของการจัดงาน กาลาดินเนอร์ “ The World of Children ” …เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 ทั้งนี้ได้รับความกรุณาจาก พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นประธานหารายได้ของโครงการฯ และ พลโท อายุพูล กรรณสูต ( ยศขณะนั้น ) เป็นเลขานุการ อาจารย์ทิพย์ เป็นประธานฝ่ายหาทุนของมูลนิธิกุมารฯ และได้กราบทูลเชิญพระวรวงค์เธอ พระวรราชาทินัดดามาตุ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จเป็นองค์ประธานในงาน นับเป็นงานยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของกรมแพทย์ทหารบก ผู้มีเกียรติและมีชื่อเสียงในสังคมมาร่วมงานอย่างคับคั่งได้เงินร่วมสมทบทุนโครงการอาคารพัชรกิติยาภา จากงานนี้มากกว่า 35 ล้าน
เมื่องานใหญ่สำเร็จลง…ความฝันในการหาทุนสร้างอาคารจึงมีความเป็นจริงมากขึ้นในขณะเดียวกันโครงการอาคารพัชรกิติยาภาก็ได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนของระบบราชการ จนได้รับอนุมัติในหลักการให้ดำเนินการ กองทัพบกได้มอบหมายให้ พลเอก ชัชชม กันหลง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกฝ่ายส่งกำลังบำรุงในขณะนั้นได้ร่วมพิจารณาและได้เสนอให้ขยายแบบอาคารให้ใหญ่และสูงขึ้นอีกเป็นอาคารแฝด 11 ชั้น เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าของพื้นที่และสามารถรองรับส่วนของผู้ป่วยสูตินารีเวชกรรมที่มีปัญหาขาดแคลนพื้นที่ปฏิบัติงานเช่นกัน และย้ายพื้นที่โครงการฯ มายังทิศตะวันออกของโรงพยาบาล ใช้งบประมาณ 657 ล้านบาท อาคารหลังนี้มีลักษณะพิเศษคือเป็นอาคารเดียวที่กองทัพบกได้ว่าจ้างให้มีการออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานเป็นอาคารแรก
ในช่วงเวลาดำเนินการได้เกิดปัญหาทางการเมืองในเดือนพฤษภคม พ.ศ. 2535 งบประมาณทางทหารได้ถูกปรับลดลง เกิดผลกระทบต่อโครงการอย่างมาก ซึ่งผู้บริหารกรมแพทย์ทหารบกขณะนั้น…พลโท เชิดชัย เจียมไชยศรี เจ้ากรมแพทย์ทหารบก…พลตรี สุจินต์ อุบลวัตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า…พันเอก จุลเทพ ธีระธาดา รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และพันเอกประวิชช์ ตันประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้ช่วยดำเนินการประสานงานแก้ไขปัญหาและอุปสรรคอย่างมากมายที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และด้วยพระบารมีปกเกล้าขององค์อุปถัมภ์มูลนิธิฯ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงลงตัวและประสบความสำเร็จในที่สุด…โดยมีบริษัททีค ( TEAC ) เป็นผู้ออกแบบอาคารและบริษัทเบ็ญจมาศ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างกองทัพบกได้ทูลเชิญ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
Image
ในส่วนการดูแลการก่อสร้างนั้น โรงพยาบาลได้มอบหมายให้ อาจารย์ ไตรโรจน์ ครุธเวโช เป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับอาคาร และในช่วงที่อาจารย์ไตรโรจน์ เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ อาจารย์ทิพย์ ศรีไพศาล ได้กรุณาเป็นประธานฯแทน ได้มีการดำเนินการแก้ไขอุปสรรคในการก่อสร้างร่วมกับกรมยุทธโยธา กองทัพบก ในหลายประเด็นจนสามารถดำเนินการได้จนประสบความสำเร็จ
Image
ก่อนที่อาคารจะสร้างเสร็จ มูลนิธิกุมารฯ ร่วมกับ คุณมณีนุช เสมรสุต ได้จัดงาน “ The Glory of M.S.Stars Charity Gala Dinner ” ที่โรงแรมโอเรียลเต็น…เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เป็นงานใหญ่ครั้งที่ 3 ซึ่งพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้ทรงพระกรุณาเสด็จเป็นองค์ประธานอีกครั้งหนึ่ง มีนักร้อง มีนักแสดง ที่มีชื่อเสียงร่วมแสดงจำนวนมาก เช่น คุณ มณีนุช เสมรสุต คุณ แคทรียา อิงลิช คุณทาทา ยัง เป็นต้น